การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์
(Robotic Programming)
หลักสูตรการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่ ดร.โค้ด (DrCodemy) โรงเรียนสอนวิทยาการคำนวณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดการเรียนรู้แบบ STEM เป็นการบูรณาการของกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันหรือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ (Robotic Programming) ยังเป็นคอร์สที่ให้ผู้เรียนพัฒนาโปรแกรมในการวางแผน ควบคุม ติดตาม การทำงานของหุ่นยนต์ คอร์สนี้เน้นทักษะการคิดสร้างสรรค์และเป็นระบบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการโต้ตอบระหว่างโลกดิจิทัล (Digital World) กับโลกกายภาพ (Physical World) ซึ่งถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันต่อไป
เนื้อหาประกอบไปด้วย
O การสร้างหุ่นยนต์
O การออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
นอกจากนั้นการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ยังเป็นที่ยอมรับว่าเครื่องมือในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กอย่างแท้จริง
การเขียนโปรแกรมแบบอันปลั๊กสำหรับหุ่นยนต์
(Robotic Programming)
การเขียนโปรแกรมแบบอันปลั๊กคือการเขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ในคอร์สนี้จะเป็นการปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่งในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กที่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อน การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นตอน และทักษะการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมในขั้นต่อไป
คณะผู้สอน
การอบรม
-
ผ่านการอบรมการเขียนโปรแกรมแบบอันปลั๊ก หลักสูตร "การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ" วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
-
ผ่านการอบรมการเขียนโปรแกรมแบบอันปลั๊ก หลักสูตร "การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ" วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
การศึกษา
-
สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์
-
ผ่านการฝึกสอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
-
ผ่านการฝึกสอนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
-
เป็นผู้ช่วยสอน วิชาการเขียนโปรแกรม ระดับปริญญาตรี ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สังเกตการณ์สอน ณ โรงเรียน Bullion Lane Primary School, County Durham, ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
-
ทำวิจัยเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็ก
การเขียนโปรแกรมแบบบล็อกสำหรับหุ่นยนต์พื้นฐาน
(ฺBasic Robotic Programming)
การเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคือการเขียนโปรแกรมโดยคำสั่งพื้นฐานที่มีลักษณะเป็นบล็อก โดยที่คำสั้งเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมที่มีความซับซ้อนขึ้น ในคอร์สนี้จะเป็นการปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสแครชในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กที่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อนหรือเคยเขียนโปรแกรมมาก่อนเล็กน้อย ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดเชิงนามธรรม ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมในขั้นประยุกต์ใช้จริง
คอร์สการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกสำหรับหุ่นยนต์ประกอบด้วย 2 คอร์ส คือ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสแครชสำหรับ mBot และคอร์สการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสแครชสำหรับ Lego Boost
คณะผู้สอน
การอบรม
-
ผ่านการอบรมการเขียนโปรแกรมภาษาสแครช หลักสูตร "การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ" วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
-
ผ่านการอบรมการเขียนโปรแกรมภาษาสแครช หลักสูตร "การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ" วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
-
ผ่านการอบรมการเขียนโปรแกรมภาษาสแครช หลักสูตร "การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ" วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
-
ผ่านการอบรมหลักสูตร "MIT AppInventor" สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA)
การศึกษา
-
สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์
-
ผ่านการฝึกสอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
-
ผ่านการฝึกสอนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
-
เป็นผู้ช่วยสอน วิชาการเขียนโปรแกรม ระดับปริญญาตรี ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ทำวิจัยเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็ก
-
สังเกตการณ์สอน ณ โรงเรียน Bullion Lane Primary School, County Durham, ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
การเขียนโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์
(Robotic Programming)
คอร์สนี้เป็นการเรียนการเขียนโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ด้วยภาษาภาษาไพทอน ซึ่งภาษาไพทอนเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเริ่มเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงเนื่องจากมีความซับซ้อนน้อย ผู้เรียนสามารถเรียนพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมจนถึงขั้นการประยุกต์ใช้งานจริง เช่น การพัฒนาโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือในการทำงาน เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเกม ในการพัฒนาโปรแกรมหุ่นยนต์ และในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เป็นต้น และภาษาไพทอนยังเป็นภาษาที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โปรแกรมค้นหาข้อมูล Google โปรแกรมค้นหาเส้นทาง Google Map โปรแกรมแนะนำสินค้าอัตโนมัติในร้านค้าออนไลน์ เช่น Amazon
ปัจจุบันหลากหลายอาชีพได้ใช้ภาษาไพทอน เป็นเครื่องมือในการทำงาน นอกจากนักพัฒนาโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์แล้ว นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist) ซึ่งเป็น
หนึ่งในอาชีพที่ต้องการมากที่สุดและเงินเดือนสูงที่สุดในขณะนี้ก็นิยมใช้ ภาษาไพทอนเช่นกัน นอกจากนั้น ภาษา ไพทอนยังเป็นภาษาที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving Car) บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นต้น
ในคอร์สนี้จะเป็นการปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสแครชในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กที่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนเล็กน้อย ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดเชิงตรรกะ ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นตอน ทักษะการคิดเชิงนามธรรม ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมในขั้นการประยุกต์ใช้จริง
คณะผู้สอน
การอบรม
-
ผ่านการอบรมหลักสูตร "Python for Artificial Intelligence" สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
-
ผ่านการอบรมหลักสูตร "Python101 - เตรียมตัวเป็น Data Science" สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA)
-
ผ่านการอบรมหลักสูตร "MIT AppInventor" สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA)
การศึกษา
-
สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-
สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-
สาขาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์
-
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการจัดการสารสนเทศ (Information Management Innovation Research Group) คณะการคำนวณ วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทธัมเบรีย ประเทศอังกฤษ
-
ผ่านการฝึกสอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
-
เป็นผู้ช่วยสอน วิชาการเขียนโปรแกรม ระดับปริญญาตรี ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย